วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 08:30-12:30 น.
วันนี้ขาดเรียนค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 08:30-12:30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ.2560 เวลา 08:30-12:30 น




ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก หยุดชดเชยวันสงกรานต์


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560 เวลา 08:30-12:30 น.




ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปราชการที่จังหวัดอ่างทอง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 08:30-12:30 น.



บรรยากาสในชั้นเรียน
             วันนี้เพื่อนๆทุกคนมากันพร้อมเพียง และมีการพูดคุยกันอย่างเช่นเคย วันมีกิจกกรรมที่ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ทำในชั้นรียน มีสองกิจกรรมด้วยกันคือ 

             1.กิจกรรมมือของฉัน  ให้นักศึกษาวาดควำ่มือข้างที่ไม่ถนัดแล้วให้วาดมือและเส้นลายมืของตนเอง แล้วให้เพื่อนๆในห้องทาย กิจกรรมนี้ค่อยข้างจะวุ่นวาย 555+

              2.กิจกรรมวงกลมหลากสี  โดยครู แจกกระดาษ A4 แล้วให้ใช้สีเทียนที่ให้เตรียมมานั้นวาดหรือระบายเป็นวงกลมตามอิสระและตัดออกจากกระดาษ A 4 ที่ครูให้มา  จากนั้นนำวงกลมของตนเองไปแปะบนต้นไม้เป็นใบไม้ไปเรื่อยๆ ตามใจที่จะว่าง ฮ่าๆ ^^

              3.เรียนเรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) และครูให้ดูตัวอย่างผังกราฟฟิกทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง

ภาพกิจกรรม






กิจกรรมมือของฉัน(เอ๊ะใช่หรือป่าวนะมันจะไม่เหมือนมือนะ555+)










กิจกรรมวงกลมหลากสี  เพื่อนๆทำผลงานออกมาสวยกันทุกคนเลยค่ะ^^



ตัวอย่างผังกราฟฟิก



เนื้อหาการเรียน

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
แผน IEP
• แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
• เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
• ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
• โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
• คัดแยกเด็กพิเศษ
• ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
• ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
• เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
• แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
• ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
• ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
• การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
• เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของ
แผน
• วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
• ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
• ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
• ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
• ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
• เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
• เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
• ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
• เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
• ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
• ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
• ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
• เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
• รายงานทางการแพทย์
• รายงานการประเมินด้านต่างๆ
• บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
• ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
• กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
• กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
• จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
• ระยะยาว
• ระยะสั้น

จุดมุ่งหมายระยะยาว
• กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
– น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
– น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
– น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
• ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
• เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
• จะสอนใคร
• พฤติกรรมอะไร
• เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
• พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

ตัวอย่าง
• ใคร  
• อะไร 
• เมื่อไหร่ / ที่ไหน  
• ดีขนาดไหน 
• ใคร 
• อะไร  
• เมื่อไหร่ / ที่ไหน
• ดีขนาดไหน 


3. การใช้แผน
• เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
• นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
• แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
• จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอ
• ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง

1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล

• โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
• ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

การจัดทำ IEP





ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้      
ได้รับความรู้ในเรื่องของการเขียนแผน IEP ว่ามีวิธีการเขียนเพื่อนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องถูกวิธี

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน  : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์  : พูดจาสุภาพ ไพเราะ อารมณ์ขัน สนใจนักศึกษาทุกคน แต่งกายสะอาดสุภาพ                                        เรียบร้อย 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

 วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 08:30-12:30 น.




บรรยากาศในชั้นเรียน
             วันนี้มาสายหน่อยค่ะ รีบเค้ามาปั๊มใบเข้าเรียน แล้วก้ครูเล่าถึงประสบดารณ์เพื่อนำไปปรับใช้กับเด็กเมื่อลงปฏิบัติในอนาคตได้ จากนั้นก้เริ่มข้าเนื้อหา เปิดฉากด้วยพาวเวอร์พ้อย วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

ภาพกิจกรรม








เนื้อหาการเรียน

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
• เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
• ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
• เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
• เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
• เกิดผลดีในระยะยาว
• เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทาง
วิชาการ
• แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Program; IEP)
• โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
• การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน  (Activity of Daily Living Training)
• การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
• การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
• การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
• ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
• ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
• การฝังเข็ม (Acupuncture)
• การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
• การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
• โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
• เครื่องโอภา (Communication Devices)
• โปรแกรมปราศรัย
Picture Exchange Communication System (PECS)

บทบาทของครู
• ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
• ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
• จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
• ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
•เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
•การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
• การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
• เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
• ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
• เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
• ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
• จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
• ครูจดบันทึก
• ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
• วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
• คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
• ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
• เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
• อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
• ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
• ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
• เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
• ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
• ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
• ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
• ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
• การให้โอกาสเด็ก
• เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
• ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
• เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
• ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
• ถามหาสิ่งต่างๆไหม
• บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
• ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
• การพูดตกหล่น
• การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
• ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
• ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
• ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
• อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
• อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
• ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
• เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
• ทักษะการรับรู้ภาษา
• การแสดงออกทางภาษา
• การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
• การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
• ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
• ให้เวลาเด็กได้พูด
• คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
• เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
• เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
• ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
• กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
• เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
• ใช้คำถามปลายเปิด
• เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
• ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
- การกินอยู่ 
- การเข้าห้องน้ำ 
- การแต่งตัว 
- กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
• เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
• อยากทำงานตามความสามารถ
• เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
• การได้ทำด้วยตนเอง
• เชื่อมั่นในตนเอง
• เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
• ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
• ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
• ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
•“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”

จะช่วยเมื่อไหร่
• เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
• หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
• เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
• มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม 




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)



ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
• แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
• ย่อยงาน
• เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
• เข้าไปในห้องส้วม
• ดึงกางเกงลงมา
• ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
• ปัสสาวะหรืออุจจาระ
• ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
• ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
• กดชักโครกหรือตักน้ำราด
• ดึงกางเกงขึ้น
• ล้างมือ
• เช็ดมือ
• เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น
• แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด



สรุป
• ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
• ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
• ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
• ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
• เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

4.ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
• การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
• มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
• เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
• พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
• อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
• ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
• จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
• เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
• เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
• คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
• ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
• ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
• การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
• ต่อบล็อก
• ศิลปะ
• มุมบ้าน
• ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ



• ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่



• รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
• จากการสนทนา
• เมื่อเช้าหนูทานอะไร
• แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
• จำตัวละครในนิทาน
• จำชื่อครู เพื่อน
• เล่นเกมทายของที่หายไป

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
• จัดกลุ่มเด็ก
• เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
• ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
• ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
• ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
• ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
• บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
• รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
• มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
• เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
• พูดในทางที่ดี
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
• ทำบทเรียนให้สนุก



ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้ 

           ได้รับความรู้ในเรื่องของการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับอายึและความพิเศษของแต่ล่ะด้านอย่างถูกต้องได้ค่ะ

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน  : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์  : พูดจาสุภาพ ไพเราะ อารมณ์ขัน สนใจนักศึกษาทุกคน แต่งกายสะอาดสุภาพ                                        เรียบร้อย 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

การบันทึกครั้งที่ 11
วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560เวลา 08:30-12:30 น.


บรรยากาศในชั้นเรียน  
        วันนี้มาเร็ว เข้ามาก็มาปั๊มใบเข้าเรียน จากนั้นก็นั่งรอเพื่อนๆมาจนครบ ครูก็พูดคุยสักเล็กน้อยแล้วเริ่มเข้าสู่บทเรียน เรื่อง การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



ภาพกิจกรรม









ครูเปิดคลิปวิดีโอการแสดงความสามารถพิเศษของเด็กพิเศษ ทางด้านดนตรีและตัอย่างการเขียนแผนการสอนสำหรับเด็กพิเศษ







ตัวอย่างการบันทึกเป็นค่าๆ 





ครูให้นักศึกษาวาดภาพดอกบัวให้เหมือนในรูปที่เรามองเห็นที่สุดพร้อมกับบรรยายเป็นประโยคสั้นๆ



เนื้อหาที่เรียนวันนี้  

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดการศึกษา
  1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  2. การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  3. การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  4. การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)

  • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) 
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
  • การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก 
  • การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ 
  • เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
 "Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน  (Education for All)
  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน 
  • ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • “สอนได้”
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
  • การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  • ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
  • ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  • ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
  • ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
  • จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
  • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
  • ให้รายละเอียดได้มาก
  • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  • โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
  • บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  • เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  • พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้ 
  • ได้รับความรู้ในเรื่องของการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิเศษว่าเราควรจัดการศึกษาอย่างไรให้เหมาะสมกับพัฒนาการ รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ของครู และการจัดบันทึก การตัดสินใจ

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน  : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์  : พูดจาสุภาพ ไพเราะ อารมณ์ขัน สนใจนักศึกษาทุกคน แต่งกายสะอาดสุภาพ                                        เรียบร้อย