วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันพุธ ที่ 25 เดือน มกราคม พ.ศ.2560 เวลา 08:30-12:30 น.


การเรียนการสอนของวันนี้
              วันนี้มากันพร้อมเพียง เข้าห้องมาสิ่งแรกที่ต้องทำคือก็นำใบปั๊มมาปั๊มระหว่างเตรียมความพร้อมก่อนเรียนครูก็ได้พูดคุยกับนักศึกษาจนเตรียมสื่อการสอนเสร็จ ก็เริ่มเรียนหัวข้อที่เรียนในวันนี้  เรื่อง ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื้อหาการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ครั้งนี้จะเกี่ยวกับการพูดและภาษา วันนี้มีภาพตัวอย่างของลักษณะของอาการต่างๆและคลิปวิดีโอมาให้ชมในชั้นเรียน หลังเรียนเสร็จก็ได้พูดคุยเกี่ยวกับเวลาเรียนการทำบล็กครูจะไม่อยู่เนื่องจากติดภาระกิจในสัปดาห์ถัดไปจึงได้สั่งงานไว้คือให้ทำบล็อกให้ครบทั้งหมดที่เรียนมาแล้วมาลิงค์ในคาบในสัปดาห์ที่เข้าเรียน ส่วนเนื้อหาการสอนของวันนี้สามารถเลื่อนลงไปดูด้านล่างได้เลยค่ะ วันนี้เราได้เก็บภาพบรรยากาศการเรียนการสอนมาให้ชมกันด้วยค่ะ  



ภาพกิจกรรม


ภาพนักศึกษาในขณะเรียนมีความตั้งใจมากค่ะ








เนื้อหาการสอนเกี่ยวกับการพูดและภาษา















ภาพและคลิปวิดีโอทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น



เนื้อหาการสอนของวันนี้

"เรื่อง ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
              หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) 

  • เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
  • ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด
  • เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
  • เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"

2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
  • พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
  • การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
  • อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
  • จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
  • เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders) 

  • ความบกพร่องของระดับเสียง
  • เสียงดังหรือค่อยเกินไป
  • คุณภาพของเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา 
        หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้


1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)  

  • มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
  • มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
  • ไม่สามารถสร้างประโยคได้
  • มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
  • ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ

2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia 
  • อ่านไม่ออก (alexia) 
  • เขียนไม่ได้ (agraphia ) 
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  • จำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
Gerstmann’s syndrome 
= ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia) 
= ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria) 
= คำนวณไม่ได้ (acalculia) 
= เขียนไม่ได้ (agraphia)
= อ่านไม่ออก (alexia) 

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา 
  • ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง 
  • ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน 
  • ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ 
  • หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก 
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ 
  • หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา 
  • มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก 
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย 
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) 
  • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน 
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป 
  • เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
  • มีปัญหาทางระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก (Epilepsy)
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ Partial Complex
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก

  • จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
  • ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
  • หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
  • ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
  • จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
  • ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
  • ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

ซี.พี. (Cerebral Palsy) 

  • การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด 
  • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน 
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)

  • spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
  • spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
  • spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
  • spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(athetoid , ataxia)
  • athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
  • ataxiaมีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) 

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) 

  • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว 
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ 
  • จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) 
             ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

โปลิโอ (Poliomyelitis) 
  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
  • ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม 

โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)
โรคศีรษะโต (Hydrocephalus)
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) 
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
โรคมะเร็ง (Cancer) 
เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) 
Lena Maria
Nick Vujicic

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว 
  • ท่าเดินคล้ายกรรไกร
  • เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
  • ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ 
  • มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง 
  • หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว 
  • หกล้มบ่อย ๆ
  • หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้ 
      ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษว่ามีกี่ประเภทมีลักษณะอย่างไรสาเหตุที่เกิดวิธีการดูแลรักษาซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากหากในอนาคตได้สอนเด็กๆเหล่านี้ก็ใช้วิธีการดูแลและการเข้าใจเด็กเป็นการเตรียมความพร้อมและสามารถนำไปใช้ได้จริงกับกลุ่มเด็กพิเศษเพื่อพัฒนาเด็กใหห้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ฟังครู  ถ่ายรูปกิจกรรมลงบล็อก และจดบันทึก กระตือรือร้นให้ความร่วมมือทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์ : ครูผู้สอนมีการเตรียมความพร้อมทั้งเนื้อหาสาระการแต่งกายที่ถูกต้องเหมาะสม มีความเป็นกันเองไม่ลำเอียงครูน่ารักสามารถปรึกษาได้ทุกๆเรื่องค่ะ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธ ที่ 18 เดือน มกราคม พ.ศ.2560 เวลา 08:30-12:30 น.



การเรียนการสอนของวันนี้
               ครูและนักศึกษาทุกคนมาตรงต่อเวลา นักศึกษาก็นำใบปั๊มมาปั๊มระหว่างเตรียมความพร้อมก่อนเรียนครูก็ได้พูดคุยกับนักศึกษาจนเตรียมสื่อการสอนเสร็จ ก็เริ่มเรียนหัวข้อที่เรียนในวันนี้  เรื่องประเภทของเด็กพิเศษที่มีความต้องการพิเศษ เนื้อหาการสอนเข้าใจง่ายมีาพประกอบไม่ทำให้น่าเบื่อเลยค่ะ และมีการถาม-ตอบขณะที่จบแต่ล่ะพ้อย ส่วนเนื้อหาการสอนของวันนี้สามารถเลื่อนลงไปดูด้านล่างได้เลยค่ะ วันนี้เราได้เก็บภาพบรรยากาศการเรียนการสอนมาให้ชมกันด้วยค่ะ  แต่เดี๋ยวมีเซอร์ไพร์หลังเลิกคาบด้วยน้าา จะมีอะไรต้องไปชมกันเลยยย

ภาพกิจกรรม

สนทนาพูดคุยก่อนเริ่มเรียน






บรรยายพร้อมอธิบาย มีการถาม-ตอบในชั้นเรียน









ภาพประกอบการเรียนการสอน


เนื้อหาการสอนของวันนี้

"เรื่อง ประเภทของเด็กพิเศษที่มีความต้องการพิเศษ"

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง 
        มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ” เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
     -พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
     -เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 
     -อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม 
     -มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
     -จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
     -มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
     -มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
     -เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต 
     -มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน 
     -ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน

ความแตกต่างระหว่างเด็ก เด็กฉลาด และ Gifted
       
       เด็กฉลาด
  • ตอบคำถาม
  • สนใจเรื่องที่ครูสอน
  • ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน 
  • ความจำดี
  • เรียนรู้ง่ายและเร็ว 
  • เป็นผู้ฟังที่ดี 
  • พอใจในผลงานของตน
     Gifted
  • ตั้งคำถาม 
  • เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
  • ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
  • อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
  • เบื่อง่าย  
  • ชอบเล่า 
  • ติเตียนผลงานของตน 
2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 
3.  เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา 
4. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น 
5. เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
8. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 
9. เด็กออทิสติก
10.เด็กพิการซ้อน

1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities) 
                 หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า 
 - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
- ขาดทักษะในการเรียนรู้
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
- มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 

สาเหตุของการเรียนช้า
1. ภายนอก
-เศรษฐกิจของครอบครัว
-การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
-สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
-การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
-วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
2. ภายใน
-พัฒนาการช้า
-การเจ็บป่วย

เด็กปัญญาอ่อน
 - ระดับสติปัญญาต่ำ 
- พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย 
- มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
- อาการแสดงก่อนอายุ 18 

พฤติกรรมการปรับตน

  • การสื่อความหมาย
  • การดูแลตนเอง 
  • การดำรงชีวิตภายในบ้าน
  • การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม 
  • การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
  • การควบคุมตนเอง
  • การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
  • การใช้เวลาว่าง
  • การทำงาน
  • การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น
เด็กปัญญาอ่อน
       แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  • ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
  • ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
  • ทำงานช้า
  • รุนแรง ไม่มีเหตุผล
  • อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome
สาเหตุ

  • ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 
  • ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
อาการ
-ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น 
-หน้าแบน ดั้งจมูกแบน 
-ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก 
-ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
-เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต 
-ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ 
-มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น 
-เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ 
-ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง 
-มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
-บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
-อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
-มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
-อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง

การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
  • การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์ 
  • อัลตราซาวด์  
  • การตัดชิ้นเนื้อรก
  • การเจาะน้ำคร่ำ  
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired ) 
             หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 

เด็กหูตึง 
            หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ 
        2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dBเด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้ มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
        3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
          - เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
          - เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
          - มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
         - มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
         - พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
       4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
         - เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
 - ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต
 - การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง 
         - เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง  
         - เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด

เด็กหูหนวก
 - เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
- เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
- ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
- ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
  • ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  • พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  • พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  • พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  • เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  • รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  • มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย

3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments) 
- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
- มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
- สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
- มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท

เด็กตาบอด 
- เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
- ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
- มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา

เด็กตาบอดไม่สนิท 
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา  
- สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
- เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น

  • เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  • มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  • มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
  • ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  • เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  • ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  • มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
เซอร์ไพร์ ลงคลิปไม่ได้ลงรูปแทนน้าค้าา










เนื่องในวันที่ 16 เป็นวันครูซึ่งไม่ได้เรียนกับครู วันนี้เลยมากราบครู ทุกคนตั้งใจมากราบครูในวันนี้ด้วยใจมีพวงมาลัยพวงน้อยๆมามอบให้แทนใจ ขอบคุณคุณครูที่ไม่เคยทิ้งพวกเรา ขอบคุณที่คอยพร่ำสอน คอยชี้ทางให้ขอบคุณทุกๆอย่างที่มอบให้ ด้วยรักและเคารพ




ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้ 
      ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษว่ามีกี่ประเภทมีลักษณะอย่างไรสาเหตุที่เกิดวิธีการดูแลรักษาซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากหากในอนาคตได้สอนเด็กๆเหล่านี้ก็ใช้วิธีการดูแลและการเข้าใจเด็กเป็นการเตรียมความพร้อมและสามารถนำไปใช้ได้จริงกับกลุ่มเด็กพิเศษเพื่อพัฒนาเด็กใหห้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ฟังครู  ถ่ายรูปกิจกรรมลงบล็อก และจดบันทึก กระตือรือร้นให้ความร่วมมือทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์ : ครูผู้สอนมีการเตรียมความพร้อมทั้งเนื้อหาสาระการแต่งกายที่ถูกต้องเหมาะสม มีความเป็นกันเองไม่ลำเอียงครูน่ารักสามารถปรึกษาได้ทุกๆเรื่องค่ะ